เป้าหมาย (Understanding Goal) :

นักเรียนเข้าใจความสำคัญและเห็นคุณค่าของผัก ตลอดจนเลือกรับประทานและผลิตอาหารให้ปลอดภัย อีกทั้งสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของผักกับสิ่งมีชีวิตอื่นได้

Week8

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็น อธิบายเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตคน พืช สัตว์ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร พร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นรู้ได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
8
โจทย์ :
วัฏจักรห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิต
 Key  Questions
นักเรียนคิดว่าสิ่งมีชีวิตคน พืช สัตว์ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ระดมความคิดเกี่ยวกับวัฏจักรห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิต
Think Pair Share:
Blackboard  Share : แตก web วัฏจักรห่วงโซ่อาหารสิ่งมีชีวิต
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศภายนอกชั้นเรียน
- นิทาน
- เพลง
- แปลงผัก











วัน จันทร์ (1ชั่วโมง)
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูเปิดคลิปวิดีโอวัฏจักรของห่วงโซอาหารของสิ่งมีชีวิตให้นักเรียนดู เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับวัฏจักรและความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้สึกอย่างไร?” “นักเรียนจะนำสิ่งที่ได้จากการดูคลิปวิดีโอไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดูคลิปวิดีโอ
ใช้:
นักเรียนทำใบงานเขียน web ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
วันอังคาร (1ชั่วโมง)
- ครูและนักเรียนเดินสำรวจแปลงผักรอบๆโรงเรียนและแปลงผักที่ปลูกไว้
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าแปลงผักที่เราปลูกไว้มีสัตว์ชนิดไหนบ้างที่กินผักเป็นอาหาร ทำไมสัตว์ถึงกินผักเป็นอาหาร ทำไมเราถึงกินผักเหมือนกับสัตว์
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสัตว์ที่กินผักเป็นอาหาร
ใช้ :
นักเรียนวาดภาพวัฏจักรห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิต
วันพุธ ( 1 ชั่วโมง)
ชง:
- ครูเล่านิทาน “ แกะรอยสัตว์จอมเขมือบ  ” เพื่อเชื่อมโยงเกี่ยววัฏจักรของห่วงโซ่อาหารสิ่งมีชีวิตอื่น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้ฟังแล้วรู้สึกอย่างไร” “นักเรียนจะนำสิ่งที่ได้ฟังจากนิทานมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของเราอย่างไร”
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
ชง :
 ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าวัฏจักรของห่วงโซ่อาหาร และสิ่งมีชีวิตอื่นจะเหมือนหรือต่างกับเราอย่างไร ?”
ใช้ :
ปั้นดินน้ำมัน
วันพฤหัสบดี(1ชั่วโมง)
- ครูเล่านิทานเรื่อง “ หนอนน้อยจอมเขมือบ ” เพื่อเชื่อมโยงถึงวัฏจักรห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้สึกอย่างไรจากที่ได้ฟัง”  " ทำไมสัตว์ถึงกินอาหารเหมือนกับเรา ” ถ้าคนและพี่สัตว์ไม่มีอาหารกินจะเกิดอะไรขึ้น
เชื่อม:
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของ  คน  พืช  สัตว์
ใช้ :
นักเรียนต่อเติมภาพวัฏจักรของห่วงโซ่อาหาร
วันศุกร์  ( 1  ชั่วโมง)
ชง :
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
"นักเรียนจะนำเสนอเรื่องราวให้เพื่อนและครูฟังได้อย่างไร
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนำเสนอชิ้นงาน
ใช้:
- Show and Share
- นักเรียนนำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้ให้เพื่อนฟังเป็นรายบุคคล







ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเดินสำรวจ
-  แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทาน
 - แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดูคลิปวิดีโอ
- Show and Share

ชิ้นงาน
- แตก web ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
- วาดภาพสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปวิดีโอ
-  ปั้นดินน้ำมัน

ความรู้ :
นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็น อธิบายเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตคน พืช สัตว์ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร พร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นรู้ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้
ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการสังเกต
- สังเกตแปลงผัก  สิ่งมีชีวิตรอบๆบริเวณภายในโรงเรียน
- สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิต
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม


คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน


ตัวอย่างกิจกรรม
















ตัวอย่างชิ้นงาน









1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังสอน
    ในสัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฏจักรห่วงโซ่อาหารสิ่งมีชีวิต วันจันทร์ครูเล่านิทานเรื่องหนอนน้อยจอมเขมือบครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนฟังนิทานแล้วรู้สึกอย่างไร” “นักเรียนคิดว่านอกจากคนที่กินผักแล้วมีสิ่งมีชีวิตอะไรบ้างที่กินผัก” น้องอ๋อมแอ๋ม : หนอนค่ะ น้องแสตม์ : นกครับ น้องสาว :งูค่ะ น้องวันใหม่ : แมลงค่ะ น้องหนูดี : พี่หมูค่ะ น้องพลอย : พี่ไก่ค่ะ นักเรียนทำใบงานเขียนวงจรสิ่งมีชีวิตที่กินพืช วันอังคาร ครูเล่านิทานเรื่อง “แกะรอยสัตว์จอมเขมือบ” เพื่อให้นักเรียนได้เชื่อมโยงเกี่ยวกับห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิตในวันนี้นักเรียนและครูได้ช่วยกันทำอาหารเมนูผัดผักบุ้งนักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมตั้งแต่เก็บผัก ล้าง หั่น ปรุงและชิม วันพุธนักเรียนดูคลิปวิดีโอเรื่องเหยี่ยวนักล่าเพื่อให้นักเรียนเชื่อมโยงถึงวัฏจักรของสิ่งมีชีวิตอื่นมากขึ้นจากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการดูคลิปและนักเรียนได้วาดภาพจากการดูคลิปวิดีโอ วันพฤหัสบดีครูและนักเรียนร่วมกันเดินสำรวจบริเวณรอบๆโรงเรียน ไปดูบ่อปลา แปลงผัก บ่อปู ของพี่ ป.4 จากนั้นก็เดินไปด้านหลังโรงเรียนนักเรียนดูตื่นเต้นมากสังเกตได้จากการจับปลาใส่ขวดเพื่อนำมาเลี้ยงที่ตึกอนุบาล วันศุกร์ครูเล่านิทานบ้านปูเสฉวนจากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์นักเรียนทุกคนทำได้เยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ