เป้าหมาย (Understanding Goal) :

นักเรียนเข้าใจความสำคัญและเห็นคุณค่าของผัก ตลอดจนเลือกรับประทานและผลิตอาหารให้ปลอดภัย อีกทั้งสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของผักกับสิ่งมีชีวิตอื่นได้

week9

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถนักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็น ความสัมพันธ์ของผักกับสิ่งมีชีวิตอื่นมีความสัมพันธ์กับตัวนักเรียนเอง พร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นรู้ได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
9
โจทย์ :
ความสัมพันธ์ของผักกับสิ่งมีชีวิตอื่น
- คน
- พืช
- สัตว์
-สิ่งแวดล้อม
Key  Questions
นักเรียนคิดว่าความสัมพันธ์ของผักกับสิ่งมีชีวิตอื่นมีความสัมพันธ์กับตัวนักเรียนเองอย่างไร?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของผักกับสิ่งมีชีวิตอื่น
Blackboard  Share : ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผักกับสิ่งมีชีวิตอื่น
Wall  Thinking : ใบงานเขียน webความสัมพันธ์ของผักกับสิ่งมีชีวิตอื่น
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน็้
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศภายนอกชั้นเรียน
- นิทาน
- เพลง
- แปลงผัก













วัน จันทร์ (1ชั่วโมง)
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูเปิดคลิปวิดีโอความสัมพันธ์ของผักกับสิ่งที่มีชีวิตอื่น เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตอื่น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้สึกอย่างไร?” “นักเรียนจะนำสิ่งที่ได้จากการดูคลิปวิดีโอไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดูคลิปวิดีโอ
ใช้:
นักเรียนวาดรูปสิ่งที่ได้เรียนรู้จาดการดูคลิป
วันอังคาร (1ชั่วโมง)
- ครูและนักเรียนเดินสำรวจแปลงผักที่ปลูกไว้
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าแปลงผักที่เราปลูกไว้มีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตอื่นอย่างไรบ้าง ทำไมคนกับสัตว์ถึงกินผักเหมือนกัน
ผักมีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตอื่นอย่างไรบ้าง
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผักมีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตอย่างไรบ้าง
ใช้ :
นักเรียนพิมพ์ภาพจากผัก
วันพุธ ( 1 ชั่วโมง)
ชง:
- ครูเล่านิทาน “ ป่าแสนสุข  ” เพื่อเชื่อมโยงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผักกับสิ่งมีชีวิตอื่น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้ฟังแล้วรู้สึกอย่างไร” “นักเรียนจะนำสิ่งที่ได้ฟังจากนิทานมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของเราอย่างไร”
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
ชง :
 ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าผักกับสิ่งมีชีวิตอื่นอย่างไรจะเหมือนหรือต่างกับเราอย่างไร ?”
ใช้ :
ปั้นดินน้ำมันเกี่ยวกับผักกับสิ่งมีชีวิตอื่น
วันพฤหัสบดี(1ชั่วโมง)
- ครูเล่านิทานเรื่อง “ นกยางขี่หลังควาย  ” เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ผักกับสิ่งมีชีวิตอื่น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้สึกอย่างไรจากที่ได้ฟัง”  " ผักจึงมีความสัมพันธ์เหมือนกันกับเรา ” ถ้าวันหนึ่งไม่มีผักนักเรียนจะทำอย่างไร
เชื่อม:
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของ  คน  พืช  สัตว์
ใช้ :
นักเรียนแตก web ความสัมพันธ์ผักกับสิ่งมีชีวิตอื่น

วันศุกร์  ( 1  ชั่วโมง)
ชง :
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
"นักเรียนจะนำเสนอเรื่องราวให้เพื่อนและครูฟังได้อย่างไร
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนำเสนอชิ้นงาน
ใช้:
- Show and Share
- นักเรียนนำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้ให้เพื่อนฟังเป็นรายบุคคล







ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยว กับกิจกรรมที่ได้ทำ
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของผักกับชุมชนและสิ่งมีชีวิตอื่น
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเราสามารถนำผักไปทำประโยชน์
- บทบาทสมมุติ

ชิ้นงาน
- วาดภาพสิ่งที่ได้เรียนรู้
- พิมพ์ภาพจากผัก
-ปั้นดินน้ำมัน  ความสัมพันธ์ของผักกับสิ่งมีชีวิตอื่น
-แตก web ผักมีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตอื่น

ความรู้ :
นักเรียนสามารถนักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็น ความสัมพันธ์ของผักกับสิ่งมีชีวิตอื่นมีความสัมพันธ์กับตัวนักเรียนเอง พร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นรู้ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้
ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการสังเกต
สังเกตความเหมือนความแตกต่างสิ่งต่างๆ โดยรวมทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน


ตัวอย่างกิจกรรม












                                                                  ตัวอย่างชิ้นงาน






1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังสอน
    สัปดาห์ที่ 9 นักเรียนได้สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ “ผักปลอดภัย” ตลอดทั้ง Q.3 ที่ผ่านมานักเรียนได้ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านการเต้นประกอบเพลง “กินผัก” แสดงละคร “เรื่องหัวผักกาดยักษ์ ” และคลิปวิดีโอ นักเรียนทุกคนได้ซ้อมการแสดงโดยแบ่งเป็นกลุ่ม 3 กลุ่ม นักเรียนตื่นเต้นและตั้งใจที่จะซ้อมและทำกิจกรรม นอกจากนี้นักเรียนยังได้ร่วมชมการสรุปองค์ความรู้ของพี่ประถม ในวันศุกร์นักเรียนร่วมกันแสดงถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ผู้ปกครองและพี่ๆได้รับชม ผู้ปกครองมาทำขนมแบ่งปันให้กับพี่และน้อง และในวันนี้นักเรียนได้ห่อข้าวมารับประทานร่วมกัน จากนั้น นักเรียน ครู และผู้ปกครองร่วมกันปรนนิบัติสถานที่ร่วมกัน ตลอดทั้งสัปดาห์นักเรียนทุกคนทำกิจกรรมได้เยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ