เป้าหมาย (Understanding Goal) :

นักเรียนเข้าใจความสำคัญและเห็นคุณค่าของผัก ตลอดจนเลือกรับประทานและผลิตอาหารให้ปลอดภัย อีกทั้งสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของผักกับสิ่งมีชีวิตอื่นได้

week3

เป้าหมายรายสัปดาห์ นักเรียนสามารถบอกถึงการงอกและโครงสร้าง ชนิด  ส่วนต่างๆของผัก  พร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้                                                                                                                                    
Week
Input
Process
Output
Outcome
3
โจทย์ :
การงอก/โครงสร้าง
- ลำต้น
- ราก
- ใบ
- ดอก
- ผล
- ชื่อของผัก
- สี  กลิ่น  รส
Key  Questions
- นักเรียนคิดว่าการงอกและโครงสร้างของผัก และสิ่งมีชีวิตอื่นเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความคิดเห็นเกี่ยวการงอกและโครงสร้างของผัก
 ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประกอบของผัก
Wall  Thinking :
ใบงาน web ผักที่นักเรียนรู้จัก
- แตก web ส่วนประกอบของผัก
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู
นักเรีย
สื่อและแหล่งเรียนรู้
บรรยากาศภายในชั้นเรียน
บรรยากาศรอบบริเวณโรงเรียน
- นิทาน
แปลงผัก








วัน จันทร์ (1 ชั่วโมง)
ชง :
-  ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ครูพานักเรียนเดินสำรวจแปลงผักที่ปลูกไว้
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไรจากการเดินสำรวจแปลงผัก”
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเดินสำรวจแปลงผัก
ใช้:
นักเรียนวาดภาพสิ่งที่พบเจอจากการเดินสำรวจ
วันอังคาร (1ชั่วโมง)
ชง:
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง “”
ครูนำผักชนิดต่างๆมาให้นักเรียน  สังเกต  เช่น ต้นหอม  พริก  โพรพา เพื่อให้นักเรียนได้เชื่อมโยงถึงประเภทของผักต่างๆ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง  รู้สึกอย่างไร?” “นักเรียนคิดว่าส่วนประกอบของส่วนต่างๆ เช่น ดอก  ใบ    ผล ลำต้น มีหน้าที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?”
ชง: ครูนำเมล็ดถั่วเขียว และเมล็ดข้าวที่เพาะไว้แล้วมาให้นักเรียนสังเกต
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?” “นักเรียนคิดว่าถั่วเขียวและเมล็ดข้าวมีการงอกเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?”
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
ใช้ :
นักเรียนวาดส่วนต่างๆของผัก
วันพุธ ( ชั่วโมง)
ชง :
- ครูเล่านิทาน “”
ครูนำผักแต่ละชนิดมาให้นักเรียนสังเกตและลองชิม เช่น  วอรเทอร์เกรซ  แตงกวา  โหรพา  อัญชัญ
- นักเรียนลองสังเกตผักแต่ละชนิด
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าผักแต่ละชนิดมีสีเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร”
ครูและนักเรียนลองชิมผักครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดดังนี้
“เมื่อนักเรียนชิมแล้วรู้สึกอย่างไร?”
“นักเรียนคิดว่าผักแต่ละชนิดมีรสชาติเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?”
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการได้ลองชิมผัก
ใช้ :
นักเรียนทำใบงานแตก web รสชาตของผัก
วันพฤหัสบดี(1ชั่วโมง)
ชง :
ครูและนักเรียนสังเกตแปลงผักที่ปลูกไว้    เพื่อให้นักเรียนได้เชื่อมโยงถึงหน้าที่ของผักแต่ละชนิด
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดเช่น “นักเรียนคิดว่าส่วนประกอบของผักมีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร?”
 “ส่วนไหนของผักที่ทำหน้าที่เกาะกับดินไว้เพื่อให้ผักแข็งแรง?”
“นักเรียนคิดว่าส่วนประกอบต่างๆของผักมีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร?”
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหน้าที่ของส่วนต่างๆของผัก
ชง :
- ครูถอดต้นผักขึ้นมาหนึ่งต้นเพื่อให้นักเรียนได้สังเกต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด“นักเรียนคิดว่าส่วนต่างๆของผักเหมือนกับร่างกายของเราและสัตว์อย่างไร?”
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
ใช้ :
นักเรียนปั้นดินน้ำมันผัก
วันศุกร์  ( 1  ชั่วโมง)
ชง :
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
"นักเรียนจะนำเสนอเรื่องราวให้เพื่อนและครูฟังได้อย่างไร
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้
ใช้:
Show and Share
นักเรียนเล่าเกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์

ภาระงาน
-แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแปลงผักที่ปลูกไว้
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชนิดของผัก สี  กลิ่น  รส
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประกอบของผัก
Show and Share

ชิ้นงาน
- แตก web ส่วนประกอบของผัก
วาดส่วนประกอบของผัก
แตก web รสชาติของผัก
- ปั้นดินน้ำมัน


ความรู้ :
นักเรียนสามารถบอกถึงการงอกและโครงสร้าง ชนิด  ส่วนต่างๆของผัก  พร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสำรวจ ฟังนิทานและดูภาพโปสเตอร์ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการสังเกต
สังเกตสิ่งต่างๆถึงโครงสร้าง ส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตที่พบ  สามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม

คุณลักษณะ :
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน


























































 ตัวอย่างกิจกรรม








ตัวอย่างชิ้นงาน











1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    ในสัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การงอก / โครงสร้างของผักพร้อมทั้งเชื่อมโยงถึงสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น คน สัตว์ ในวันจันทร์นักเรียนได้สังเกตกระถางผักที่ปลูกไว้จากนั้นร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกัน เกี่ยวกับการงออกของผัก นักเรียนทุกคนต่างตื่นเต้นที่เห็นผักของตัวเองงอก ขึ้นมาแล้ว ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ผักของนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง แล้วนักเรียนคิดว่าคน กับ สัตว์มีการเกิดเหมือนกับผักหรือไม่อย่างไร
    น้องแสตม์ : พี่ผักเกิดแล้วครับ น้องสาว : พี่ผักเกิดขึ้นมาสูงแล้วค่ะ น้องกร : พี่ผักมีใบครับ น้องอ๋อม : พี่ผักมีต้นค่ะ น้องวันใหม่ : คนเกิดจากท้องแม่ค่ะ
    น้องน็อต: พี่สัตว์เกิดจากแม่สัตว์ครับ น้องไดมอนด์ : ไม่เหมือนครับ คนเกิดจากท้องแม่ ผักเกิดจากดินครับ น้องใบพลู : พี่ผักเกิดจากดินค่ะ น้องหนูดี : พี่ผักเกิดจากเมล็ดค่ะ น้องฮิว: ไม่เหมือนครับ ผักเกิดจากดิน น้องกาย: ผักมีรากครับ น้องพลอย: พี่ผักมีต้นค่ะ น้องข้าวหอม : พี่ผักเกิดในกระถางค่ะ น้องสายไหม : ผักจะเกิดเราต้องรดน้ำค่ะ น้องอุ้ม : พี่ผักเกิดจากเมล็ดค่ะ จากนั้นนักเรียน นักเรียนทำใบงานการงอกของผัก วันอังคารนักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบของผักครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าผักแต่ละชนิดมีส่วนใดบ้าง เช่น ต้นมะเขือมีส่วนไหนบ้าง น้องกาย : ใบครับ น้องสาว : มีรากค่ะ น้องอิม : มีต้นค่ะ น้องแสตม์ : มีลูกครับ น้องน็อต : มีดอกครับ ครูใช้คำถามเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างผักกับตัวเด็ก น้องไดมอนด์ : จมูกเราเหมือนใบของผักครับ น้องแสตม์ : ปากของเราเหมือนรากผักครับ น้องสาว : ต้นพี่ผักเหมือนกับตัวของเราค่ะ จากนั้นนักเรียนทำใบงานส่วนประกอบของผัก วันพุธ นักเรียนได้ทบทวนส่วนประกอบของผักและเชื่อมโยงกับสิ่งมีชีวิตอื่น วันนี้ผู้ปกครองอาสาทำอาหารแห่งรักซึ่งจะทำในทุกๆสัปดาห์ นักเรียนจะได้ออกไปเรียนรู้การทำอาหารกับผู้ปกครอง 1 กลุ่มส่วนนักเรียนที่เหลือทำชิ้นงานประติดรูปผักอยู่ในห้อง วันพฤหัสบดีที่ ครูเล่านิทานเรื่อง “รู้ไหม อาหารที่เรากินไปไหน” นักเรียนได้เชื่อมโยงเรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่ของพืชกับร่างกายตัวเอง ได้รู้ว่าคนกินอาหารทางปากพืชกินอาหารทางราก คนใช้จมูกหายใจพืชหายใจทางใบ ผลและดอกใช้เป็นอาหาร พืชส่งอาหารไปทางลำต้น นักเรียนแตก web โครงสร้าง/หน้าที่ของพืช วันศุกร์ นักเรียนได้ทบทวน แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันในห้องเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์ นักเรียนทุกคนทำได้ดีมากค่ะ

    ตอบลบ